คอลเซ็นเตอร์

ที่พักโรงแรมสุดหรู พร้อมเทรนเนอร์ส่วนตัว เงินเดือนก้อนโต ทำงานง่ายๆ ในต่างประเทศ

ข้อเสนอสุดแสนเย้ายวนใจ เหล่านี้ ที่ทำให้ หยาง เวบิน ตอบรับข้อเสนอ จากบ้านเกิดประเทศไต้หวัน ไปทำงานใน เทเลเซลหรือขายสินค้า ผ่าทางโทรศัพท์ ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างกัมพูชาทันที หยาง เวบิน ชายชาวไต้หวัน วัย 35 ปี ผู้มีอาชีพเป็นพนักงานนวด ซึ่งมีรายได้ไม่มากนัก ประกอบกับ เขายังต้องดูแล พ่อที่ป่วยและต้องรับการรักษา

แล้วแล้วเมื่อเขาได้เดินทางมาถึง กรุงพนมเปญ กลุ่มชายฉกรรจ์ จำนวณหลายคน ได้ขับรถพาเขาไปยังตึกแห่งหนึ่ง ซึ่งบนถนนไร้ซึ่งผู้คนอยู่อาศัย และเขาถูกพาไปอยู่ที่ห้องเปล่าๆ ห้องหนึ่ง แถมยังโดนยึดหนังสือเดินทาง โดยที่เขาได้ถูกสั่ง ไม่ให้ออกไปจากที่นี่ได้ “ผมเพิ่งรู้ตอนนั้น ว่ากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย และมาผิดที่เสียแล้ว”

หยาง เวบิน นั้นเป็นเพียงแค่ หนึ่งในอีกหลายพันคน ที่ได้ตกเป็ยเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการหลอกนั้น จะมีข้อเสนอที่จูงใจ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ดี และได้รับค่าตอบแทนสูง ในตอนนี้ทางรัฐบาลของหลายๆ ประเทศได้ออกมาเตือน ถึงเรื่องนี้แล้ว โดยหลายๆ คนนั้นถูกหลอก ให้เดือยทางมาไม่ว่าจะเป็น เมียนมา กัมพูชา รวมไปถึงประเทศไทย

คอลเซ็นเตอร์

แต่เมื่อไปถึงที่ พวกเขาถูกกักขังและใช้ให้ทำงานให้ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ต้มตุ๋นผู้คน

การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่มีมายาวนานแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่แก๊งอาชญากรรมเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่เหยื่อกลุ่มใหม่ โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวที่มีการศึกษาดี ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และส่วนใหญ่พูดภาษาในภูมิภาคได้มากกว่าหนึ่งภาษา แก๊งอาชญากรรมเหล่านี้เห็นว่าพวกเขาเป็น “แรงงานมีทักษะ” ที่จะสามารถมาช่วยก่ออาชญากรรม ทางโลกออนไลน์ได้หลายประเภท

ไม่ว่าจะเป็นการหลอกเป็นคนรัก, การฉ้อโกงเรื่องสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี, การฟอกเงิน ไปจนถึงการพนันอย่างผิดกฎหมาย ชี ทิน จากเวียดนามบอกกับบีบีซีว่า เขาต้องแกล้งเป็นผู้หญิงและพยายามหาเพื่อนในโลกออนไลน์ เขาถูกบังคับให้หาเพื่อนให้ได้ 15 คนต่อวัน และชักชวนให้มาเล่นการพนันและลอตเตอรี่ออนไลน์ให้ได้

“ในจำนวนนี้ ผมต้องโน้มน้าวให้คน 5 คนเติมเงินลงไปในบัญชีเล่นเกมให้ได้” “ผู้จัดการบอกผมให้ทำงานแต่โดยดี อย่าพยายามหนีหรือขัดขืน ไม่งั้นผมจะถูกนำตัวไปห้องทรมาน หลายคนบอกผมว่าหากพวกเขาไม่สามารถทำงานได้ตามยอด พวกเขาจะต้องอดข้าวและก็โดนทุบตี” ผลลัพธ์คือเหยื่อหลายคน ได้รับความกระทบกระเทือนด้านจิตใจ

และร่างกายอย่างรุนแรง เหยื่อชาวเวียดนามสองคน ซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อบอกกับบีบีซีว่า พวกเขาโดนทุบตี ใช้ไฟช็อต และถูกขายไปให้แก๊งต้มตุ๋นหลายแห่ง หนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิงอายุ 15 ปี หน้าเธอเสียโฉมจากการทารุณ ตั้งแต่กลับบ้านมา เธอลาออกจากโรงเรียน เพราะละอายใจเวลาต้องไปเจอหน้าเพื่อน อีกคนหนึ่งเป็นชายอายุ 25 ปี

เขาให้ดูภาพที่ผู้คุมขังถ่ายตัวเขาไว้เพื่อใช้เรียกค่าไถ่จากครอบครัวเขา ในภาพ เขาถูกใส่กุญแจมือมัดกับเตียงและเห็นแผลชัดเจนที่เข่าซึ่งเขาถูกไฟฟ้าช็อต เหยื่อเหล่านี้ได้รับแจ้งให้จ่าย “หนี้” คืนให้กับแก๊งต้มตุ๋นหากว่าอยากออกไปจากที่ถูกคุมขัง นั่นก็คือให้จ่ายค่าไถ่นั้นเอง หรือไม่ก็เสี่ยงถูกขายต่อไปให้แก๊งต้มตุ๋นอีกที่

ในกรณีของ ชี ทิน ครอบครัวเขารวบรวมเงินจนได้ 2,600 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 110,000 บาท เพื่อแลกกับเสรีภาพของเขา คนที่ไม่มีเงินไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากพยายามหลบหนี เมื่อเดือนที่แล้ว ชาวเวียดนามมากกว่า 40 คนที่ถูกขังอยู่ในคาสิโนในกัมพูชาหนีออกจากที่พักและพยายามว่ายน้ำข้ามพรมแดน มีเด็กวัย 16 ปีคนหนึ่งที่เสียชีวิตหลังถูกกระแสน้ำพัดไป

นอกจากในกัมพูชาแล้ว แก๊งต้มตุ๋นก็ดำเนินการอยู่ที่จังหวัดติดพรมแดนในไทยและเมียนมาด้วย รายงานหลายชิ้นระบุว่า ส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนเป็นเจ้าของโดยหรือมีความเชื่อมโยงกับชาวจีน องค์กรช่วยเหลือ Global Anti-Scam Organization (Gaso) บอกว่าบ่อยครั้งที่แก๊งเหล่านี้เป็นฉากบังหน้าให้กับองค์กรอาชญากรรม

แจน ซานเทียโก โฆษกของ Gaso บอกว่า หลายแก๊งมีโครงสร้างละเอียดซับซ้อน มีทั้งฝ่ายไอที ฝ่ายการเงิน และฝ่ายฟอกเงิน แก๊งที่ใหญ่กว่านั้นเป็นเหมือนบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีทั้งโครงการฝึกสอนวิธีต้มตุ๋น มีรายงานความก้าวหน้า และเป้ายอดการขาย นอกจากนี้ พวกเขายังดำเนินการแบบข้ามชาติด้วย และบ่อยครั้งที่ไปร่วมมือกับแก๊งอาชญากร ในพื้นที่ในการต้มตุ๋นหรือรับคนเข้ามาทำงาน เมื่อเดือนที่แล้ว ทางการไต้หวันออกมาบอกว่า

มีองค์กรอาชญากรรมในพื้นที่กว่า 40 กลุ่มที่พัวพันกับปฏิบัติการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าการต้มตุ๋นลักษณะนี้โดยชาวจีนมีมานานแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าโควิดทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป จากที่เคยมุ่งเป้าไปที่เหยื่อชาวจีน มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด ในจีนทำให้แก๊งเหล่านี้หันไปหาเหยื่อจากประเทศอื่นในภูมิภาคแทน

และในตอนนั้นก็มีคนหางานมากขึ้นเพราะเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ กำลังบอบช้ำจากวิกฤตโควิด ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า อีกปัจจัยหนึ่งคือ การลงทุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt & Road Initiative – BRI) ทำให้ประเทศต่าง ๆ เชื่อมต่อกันง่ายขึ้นและองค์กรอาชญากรรมก็สามารถขยายกิจการไปได้ไกลมากขึ้น

เมื่อเดือนที่แล้ว ทางการไทยจับกุมตัว เฉอ จี้เจียง นักธุรกิจจีนผู้ลงทุนไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงคาสิโนมูลค่านับพันล้านดอลลาร์และกลุ่มอาคารเพื่อการท่องเที่ยวในเมียนมาที่ชื่อ ชเวก็อกโก่ (Shwe Kokko) องค์การตำรวจอาชญากรรม ระหว่างประเทศ หรือตำรวจสากล (อินเตอร์โพล) ต้องการตัวเขา โดยบอกว่าเขา เป็นหัวหน้าแก๊งอาชญากรรม ที่เปิดให้มีการพนัน อย่างผิดกฎหมายในภูมิภาคนี้

เหยื่อหลายคนกล่าวหาว่าพวกเขาถูกขาย กักขัง และทรมานอยู่ในบริเวณกลุ่มอาคารของนาย เฉอ จี้เจียง ซึ่งรู้จักกันด้วยชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า “KK Park” เพิ่งไม่นานมานี้เองที่ตำรวจกัมพูชาร่วมมือกับทางการไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ในการบุกค้นและให้การช่วยเหลือเหยื่อแก๊งต้มตุ๋น รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยกัมพูชายอมรับว่า นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางแต่ก็บอกว่าส่วนใหญ่ดำเนินการโดยชาวต่างชาติ

อย่างไรก็ดี จากรายงานด้านการค้ามนุษย์โดยกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ปีนี้ เหยื่อและองค์กรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล บอกว่า ตำรวจ ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ทางการด้านอื่นๆ ของกัมพูชามีส่วนรู้เห็นด้วย โดยร่วมมือกับผู้ค้ามนุษย์ หรือไม่ก็รับสินบนเพื่อแลกกับการยกฟ้องในคดีต่างๆ รายงานดังกล่าวระบุว่าแม้จะมี “ข้อกล่าวหาที่น่าเชื่อถือได้”
แต่เจ้าหน้าที่หลายคนไม่ได้ถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด เปปปี คิวินเนมซิดิค จากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ ไอโอเอ็ม (International Organization for Migration – IOM) ของสหประชาชาติ บอกว่า รัฐบาลบางประเทศต้องปรับกฎหมายด้านการค้ามนุษย์ให้ทันสมัยขึ้น ต้องมีระบบสนับสนุนแก่เหยื่อ

และฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของแต่ละชาติ ต้องให้ความร่วมมือกันมากขึ้น โดยเธอยอมรับว่า “เป็นสิ่งที่ยากและต้องใช้เวลา” ระหว่างนี้ หลายประเทศพยายามจะให้ความรู้กับสาธารณชนถึงความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋น บางประเทศเพิ่มมาตราการตรวจตราเวลาคนจะเดินทางไปยังจุดหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาทิ ให้ตำรวจไปตั้งด่านที่สนามบินเพื่อสอบถามว่า พวกเขาจะเดินทางไปทำอะไร เมื่อเดือนที่แล้ว ทางการอินโดนีเซียไปสกัดเที่ยวบินพิเศษ หลายเที่ยวที่จะพาคนงานหลายร้อยคนไปที่เมืองสีหนุวิลล์ มีการตั้งกลุ่มอาสาสมัครขึ้นในหลายประเทศ อาทิ กลุ่ม Gaso เพื่อช่วยเหยื่อสามารถหลบหนี และกลับบ้านได้ อาสาสมัครหลายคนเคยเป็นเหยื่อมาก่อน อย่างเช่น เวบิน

หลังถูกกักขังอยู่ 58 วันในเกาหลี เวบิน หลบออกมาได้ด้วยการคลานหนีออกจากบริเวณที่ถูกกักขังขณะที่ยามไม่ได้มอง ด้วยการช่วยเหลือจากนักเคลื่อนไหวต่อต้านแก๊งต้มตุ๋น ตอนนี้เขาได้กลับบ้านและมาทำงานเดิมแล้ว แต่ตอนนี้ผู้ที่มารับบริการนวดเขาจะสามารถอ่านป้ายที่เขียนด้วยลายมือบอกเล่าประสบการณ์อันเลวร้ายในกัมพูชาไปด้วย

นอกจากนี้ เขายังไปบอกเล่าเรื่องราวของเขา บนโลกออนไลน์และในสื่อไต้หวันด้วย “คนหลายคนอยากมีชีวิตดี ๆ และมีความฝันที่เกินความเป็นจริง [เกี่ยวกับอาชีพการงาน] ตอนนี้ผมแนะนำให้คนมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่าเดิม” เขาบอกกับบีบีซี “คุณหาเงินจากที่ไหนก็ได้ คุณไม่จำเป็นต้องไปเสี่ยงขนาดนั้นที่เมืองนอก เมืองนอกเต็มไม่ด้วยสิ่งที่คุณไม่รู้จัก มันสามารถทำลายชีวิตคนในแบบที่คุณไม่อาจจินตนาการได้เลย”

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : megaprinting.net