อัมพาต 1

เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับอุบัติเหตุ หรือ อายุมากขึ้น ร่างกายเสื่อมลงตามวัย ส่งผลการทำงานของระบบประสาท ทำให้มีอาการเดินขากะแผลก ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ หรือกลายเป็น อัมพาต ซึ่งอย่างหลังสุดนี้ นอกจากจะทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้แล้ว  ยังส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ไม่สามารถพลิกตัวเองได้เกิดเป็นแผลกดทับตามตัว หรือ ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้จนเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบตามมาด้วย..แล้วเราจะสามารถช่วยเหลือน้องหมาน้องแมวของเราที่เป็นอัมพาตได้อย่างไร

การช่วยบีบนวดกระเพาะปัสสาวะให้กับสัตว์ป่วยเป็น อัมพาต

  • สัตว์ป่วยอัมพาตบางราย ไม่สามารถปัสสาวะเองได้หมด ควรช่วยบีบนวดกระเพาะปัสสาวะทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสการเกิดกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบและติดเชื้อ
  • ตำแหน่งในการบีบนวดกระเพาะปัสสาวะคือ ระหว่างเต้านมสองคู่สุดท้าย ตรงกลางของช่องท้อง เมื่อคลำพบแล้วให้ใช้มือและ นิ้วในการบีบนวด ไม่ใช้กำปั้นกดลงไปตรงช่องท้องโดยตรง
  • กรณีสุนัขตัวใหญ่ หรืออ้วน การบีบนวดกระเพาะปัสสาวะทำได้ยาก แนะนำเป็นการสวนท่อปัสสาวะ และเปลี่ยนท่อใหม่ทุก 5-7 วัน เพื่อลดการติดเชื้อ

การดูแลด้านความสะอาดให้กับสัตว์ป่วยเป็น อัมพาต

  • สัตว์ป่วยอัมพาตไม่สามารถเลียตัวเองเพื่อทำความสะอาดได้ จำเป็นต้องช่วยเช็ดตัว ทำความสะอาดให้แทน
  • บริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ และรอบทวาร ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งที่มีการขับถ่าย แล้วเช็ดแห้ง
  • บริเวณใบหน้าและคอ ให้เช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง หลังป้อนอาหารและน้ำ
  • บริเวณลำตัว ใช้ผ้าเปียกหมาดเช็ดทำความส ะอาด แล้วเช็ดแห้ง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง กรณีสัตว์ป่วยไม่มีแผลกดทับ อาจจะอาบน้ำ 1-2 สัปดาห์/ครั้ง

อัมพาต 2

การพลิกตัว

  • ช่วยลดโอกาสเกิดแผลกดทับ จากการนอนในท่าใดท่าหนึ่งนา นๆ
  • หากสัตว์ป่วยไม่สามารถพลิกต ัวเองได้ แนะนำให้ช่วยาพลิกตัวทุก 4 ชั่วโมง
  • วิธีในการพลิกตัว คือจัดท่าให้คว่ำตัวก่อน แล้วค่อยพลิกให้อีกข้างลง ไม่พลิกท่าหงายเพราะจะทำให้ เกิดภาวะกระเพาะบิด หรือท้องอืดได้
  • ในสุนัขที่ป่วยด้วยโรคทางกร ะดูก สมองและสันหลัง มักมีอาการเจ็บปวดคอและหลัง ให้ระวังในการจับหรือจัดท่าทาง

 การกายภาพ

  • สัตว์ป่วยอัมพาต เมื่อไม่ได้ใช้ขาเป็นเวลานานๆ มีโอกาสเกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ ่อลีบได้ แนะนำให้ช่วยยืดหดขา ครั้งละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง เพื่อการคงอยู่ของกล้ามเนื้อ เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ จะมีโอกาสทำให้ง่ายต่อการเกิดแผลกดทับได้
  • สัตว์ป่วยที่อัมพาต 2 ขาหลัง แต่ยังสามารถใช้ขาหน้าได้ แนะนำให้ขึ้นวีลแชร์ หรือใส่ชุดช่วงพยุงเดิน วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที

การป้อนน้ำและอาหาร

  • สัตว์ป่วยอัมพาต ไม่สามารถกินน้ำและอาหารเอง ได้ตามปกติ จำเป็นต้องช่วยป้อน
  • ป้อนอาหาร 2-3 มื้อ ต่อวัน ขึ้นกับน้ำหนักตัวและพลังงา นที่ควรได้รับต่อวัน
  • กรณีที่ปริมาณอาหารต่อวันตามหลักโภชนาการเยอะ ควรแบ่งมื้ออาหารให้มากขึ้น ไม่แนะนำให้ๆอาหารเยอะเกินไ ปต่อมื้อ เพราะง่ายต่อการเกิดภาวะท้องอืด
  • ป้อนน้ำ ทุก 1-2 ชั่วโมง ตามน้ำหนักและปริมาณน้ำที่ค วรได้รับต่อวัน (อย่างน้อย 50 ml/kg/day)
  • จับยกหัวหรือนอนหมอนสูงขณะทำการป้อน
  • หากสัตว์ป่วยไม่สามารถเลียน้ำหรืออาหารจากชามเองได้ จำเป็นต้องใช้ไซริงค์ในการป้อน ควรเปลี่ยนไซริงค์ทุกครั้งข องมื้ออาหาร และเปลี่ยนไซริงค์ทุกวันของ การป้อนน้ำ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
พลังงานน้ำ พลังงานสะอาดและยั่งยืนจากธรรมชาติ
ทาสแมว มือใหม่ จะเลี้ยงแมวแบบไหนให้เหมาะสม
เด็กเข้าร่วมการฝึกอบรมสามครั้งห้าวันต่อสัปดาห์
ข้อตกลงการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติ
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://megaprinting.net/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.ivethospital.com